“คัชการ์ เมืองเก่ายุคเส้นทางสายไหมโบราณ”

คัชการ์

เมืองเก่าคัชการ์ ชนเชื้อสายอุยกูร์ ร้อยละ 90 เป็นผู้อาศัยถาวรในเมืองคัชการ์จำนวน 355,000 คนเป็นชาวอุยกูร์ ซึ่งพูดภาษาเตอร์กิก (Turkic) นับถือศาสนาอิสลาม และมีความผูกพันใกล้ชิดกับชาติในเอเชียกลางมากกว่ากรุงปักกิ่ง และนักสิทธิมนุษยชนสงสัยว่า จำนวนชาวอุยกูร์น่าจะลดลงเหลือร้อยละ 70 และมีชนเชื้อสายฮั่นอพยพเข้ามาอาศัยในคัชการ์ราว 150,000 คนในปัจจุบัน รัฐบาลจีนได้สั่งให้รถแทร็กเตอร์ไถทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านเมือง เก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ในคัชการ์ ซอกซอยคดเคี้ยว ซึ่งสองข้างทางเป็นบ้านเรือนก่อด้วยอิฐฉาบโคลนถูกทำลายไปถึงร้อยละ 85 ด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัยจากแผ่นดินไหว ตรอกซอยและทางเดิน ซึ่งมีส่วนโค้งบังอยู่ด้านบนที่ถูกทำลายไปนี้ เคยได้รับเลือกเป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเมื่อปี 2550 มาแล้ว เป็นการโจมตีขนานใหญ่ในทุกส่วนของเอกลักษณ์ชาวอุยกูร์นาย นูรี เทอร์เคล ทนายความและนักรณรงค์ ซึ่งเกิดในเมืองคัชการ์ แต่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดีซีระบุ ความคิดริเริ่มสร้างคาชการ์เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเหตุจลาจลระหว่างเชื้อชาติอุยกูร์และฮั่นครั้งรุนแรง ที่สุดในเมืองอู๋หลู่มูฉี ซึ่งเป็นเมืองเอกของเขตปกครองแห่งนี้ในปีที่แล้ว โดยนักเศรษฐศาสตร์หลายคน ซึ่งรวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ชาวอุยกูร์เห็นว่า มีต้นตอมาจากอัตราการว่างงานสูงในหมู่คนหนุ่มชาวอุยกูร์ ประธานาธิบดี หู จิ่นเทาประกาศแผนจัดสรรงบประมาณปีละ 15,000 ล้านดอลลาร์สำหรับอนาคตเศรษฐกิจที่นี่ ขณะที่ปัจจุบัน อสังหาริมทรัพย์ในเมืองคัชการ์ ถูกนักลงทุนจากเมืองเวินโจว ซึ่งอยู่ใกล้กับนครเซี่ยงไฮ้กว้านซื้อ การเก็งกำไรส่งผลให้ราคาอพาร์ตเมนต์ และตึกพาณิชย์พุ่งถึงร้อยละ30-40 นักธุรกิจชาวอุยกูร์วัย 35 ปีผู้หนึ่ง ซึ่งไม่ยอมเปิดเผยชื่อ เพราะกลัวอันตราย ที่ไปวิจารณ์รัฐบาลจีน เหมือนชาวอุยกูร์คนอื่นเล่าว่าอาจช่วยคนหนุ่มสาวของเราบางส่วนได้ทำงานในโรงงาน ซึ่งค่าจ้างถูก แต่เงินก้อนโตนั้น มิใช่สำหรับพวกเรานักเศรษฐศาสตร์ชาวอุยกูร์ เชื่อว่า โอกาสได้งานทำก่อนควรเป็นของทั้งชาวอุยกูร์ ที่มีทะเบียนบ้านอาศัยในคัชการ์ เช่นเดียวกับชาวฮั่น ซึ่งอาศัยมานาน แต่ ดรู แกลดนีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านซินเจียงแห่งโปโมนา คอลเลจ กลับมองในแง่ร้ายถ้าคนเหล่านี้มาจากเวินโจว เข้ามาลงทุนในคัชการ์ เขาก็จะจ้างคน ที่มาจากเวินโจว นี่คือสิ่งที่เป็นไปในจีน

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองคัชการ์

สุสานสนมเซียงเฟย สุสานของพระสนมที่ได้รับการคัดเลือก และส่งเข้าถวายตัวกับเฉียนหลงฮ่องเต้ เล่ากันว่าเฉียนหลงฮ่องเต้ลุ่มหลงโปรดปรานพระนางมาก เนื่องจากมีกลิ่นกายหอมกรุ่นเหมือนกลิ่นดอกไม้ และเล่ากันอีกว่าเมื่อพระสนมเสียชีวิตลง เฉียนหลงฮ่องเต้ได้จัดขบวนทหาร 66,660 คน ส่งศพนางกลับบ้านเกิดที่คัชการ์ เนื่องจากหนทางจากเมืองหลวงมาถึงชายแดนคัชการ์ ห่างไกลทุรกันดาร เมื่อถึงคัชการ์คงเหลือนายทหารร่วมขบวนเพียง 6 คนเท่านั้น ตัวสุสานภายนอกก่อสร้างเป็นยอดโดม ประดับภายนอกด้วยกระเบื้องหินหลากสี ภายในเก็บรักษาดูแลศพในตระกูลของพระสนมเซียงเฟยถึง 5 รุ่น

ขออภัยค่ะ

It seems we can’t find what you’re looking for. Perhaps searching can help.